ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้
สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม
การเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเฉพาะมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการใช้เครื่องบริการแฟ้มข้อมูลเป็นที่เก็บรวบควมแฟ้มข้อมูลต่างๆ มีการทำฐานข้อมูลกลาง มีหน่วยจัดการระบบสือสารหน่วยบริการใช้เครื่องพิมพ์ หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง และอุปกรณ์ประกอบสำหรับต่อเข้าในระบบเครือข่ายเพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ในรูป เป็นตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มเชื่อมโยงเป็นระบบ
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource)ในเครือข่ายนั้น
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) สถานีงาน (Workstation or Terminal) และ อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System
คอมพิวเตอร์แม่ข่าย
คอมพิวเตอร์แม่ข่าย หมายถึงคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทรัพยากร (Resources) ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยความจำสำรอง ฐานข้อมูล และ โปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มักเรียกว่าคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ในระบบเครือข่ายระยะไกล ที่ใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือ มินิคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย เรานิยมเรียกว่า Host Computer และเรียกเครื่องที่รอรับบริการว่าลูกข่ายหรือสถานีงาน
ช่องทางการสื่อสาร
ช่องทางการสื่อสารหมายถึง สื่อกลางหรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูล ระหว่างผู้รับ (Receiver) และผู้ส่งข้อมูล (Transmitter) ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสาร สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทคือ สายโทรศัพท์แบบสายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP) สายคู่ตีเกลียว แบบมีฉนวนหุ้ม (STP) สายโคแอคเชียล สายใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวป และดาวเทียม เป็นต้น
สถานีงาน
สถานีงาน (Workstation or Terminal) หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อ กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางหรือสถานีงาน ที่ได้รับการบริการจากเครื่อง คอมพิวเตอร์แม่ข่าย เรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Workstation) ในระบบเครือข่ายระยะใกล้ มักมีหน่วยประมวลผล หรือซีพียูของตนเอง ในระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม เป็นศูนย์กลาง เรียกสถานีปลายทางว่าเทอร์มินอล (Terminal) ประกอบด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์เท่านั้น ไม่มีหน่วยประมวลกลางของตัวเอง ต้องใช้หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือ Host
อุปกรณ์ในเครือข่าย
การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card :NIC) หมายถึง แผงวงจรสำหรับ ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย หน้าที่ของการ์ดนี้คือแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้
องค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
-โมเด็ม ( Modem : Modulator Demodulator) หมายถึง อุปกรณ์สำหรับการแปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital) จากคอมพิวเตอร์ด้านผู้ส่ง เพื่อส่งไปตามสายสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอก(Analog) เมื่อถึงคอมพิวเตอร์ด้านผู้รับ โมเด็มก็จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาลอก ให้เป็นดิจิตอลนำเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผล โดยปกติจะใช้โมเด็มกับระบบเครือข่ายระยะไกล โดยการใชสายโทรศัพท์เป็นสื่อกลาง เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
-ฮับ ( Hub) คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้เป็นจุดรวม และ แยกสายสัญญาณ เพื่อให้เกิดความสะดวก ในการเชื่อมต่อของเครือข่ายแบบดาว (Star) โดยปกติใช้เป็นจุดรวมการเชื่อมต่อสายสัญญาณระหว่าง File Server กับ Workstation ต่าง ๆ
ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ จัดการระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่าย สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ทำหน้าที่จัดการด้านการรักษาความปลอดภัย ของระบบเครือข่าย และยังมีหน้าที่ควบคุม การนำโปรแกรมประยุกต์ ด้านการติดต่อสื่อสาร มาทำงานในระบบเครือข่ายอีกด้วย นับว่า
ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย มีความสำคัญต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างยิ่ง ตัวอย่าง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ Windows NT , Linux , Novell Netware , Windows XP ,Windows 2000 , Solaris , Unix เป็นต้น
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (TOPTLOGY)
การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเพื่อประโยชน์ของการสื่อสารนั้น สามารถกระทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป โดยทึ่วไปแล้วโครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามลักษณะของการเชื่อมต่อดังต่อไปนี้
1. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส (bus topology)โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส จะประกอบด้วย สายส่งข้อมูลหลัก ที่ใช้ส่งข้อมูลภายในเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะเชื่อมต่อเข้ากับสายข้อมูลผ่านจุดเชื่อมต่อ เมื่อมีการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกัน จะมีสัญญาณข้อมูลส่งไปบนสายเคเบิ้ล และมีการแบ่งเวลาการใช้สายเคเบิ้ลแต่ละเครื่อง ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มีข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา
ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบ Bus - ติดตั้งระบบได้ง่าย และสะดวก
ข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบ Bus - ถ้าเกิดจุดที่เสียหาย จะหาได้ยาก
2. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology) โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่แต่ละการเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงกลม การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายนี้ก็จะเป็นวงกลมด้วยเช่นกัน ทิศทางการส่งข้อมูลจะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ จากเครื่องหนึ่งจนถึงปลายทาง ในกรณีที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งขัดข้อง การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายชนิดนี้จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ข้อดีของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง
ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบวงแหวน - สามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลายๆ เครื่องในเวลาเดียวกัน - เหมาะกับการใช้เส้นใยแก้วนำแสงให้เกิดความเร็ว
ข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบวงแหวน - ถ้ามีเครื่องเสีย จะทำให้การสื่อสารในเครือข่ายติดขัด 3. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว (star topology) โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีจุกศูนย์กลางในการควบคุมการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรือ ฮับ (hub) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ จะสื่อสารผ่านฮับก่อนที่จะส่งข้อมูลไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบดาวมีข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย
ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบดาว - ติดตั้งได้และดูแลรักษาได้ง่าย - สามารถทำการตรวจสอบเครื่องที่เสียหายในระบบได้ง่าย
ข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบดาว - เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางอาจมีราคาแพง - ถ้าเครื่องที่เป็นศูนย์กลางเสีย ทำให้ทั้งเครือข่าย ไม่สามารถทำงานได้
การสื่อสารข้อมูลและโทรคมนาคม เป็นกระบวนการส่งผ่านและรับสารสนเทศระยะไกลในรูปแบบของสัญญาณ แล้วแพร่กระจายผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ อุปกรณ์ประมวลผลข้อมูล (Processor / Central Processing Unit:CPU)
การสื่อสารในชีวิตประจำวัน-การสนทนาระหว่างบุคคล - การสนทนาทางโทรศัพท์ - การฟังดนตรี - การอ่านหนังสือ - การโฆษณา
การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์หมายถึง การโอนถ่ายข้อมูลระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ โดยผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์
ชนิดของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารต้องเป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปสัญญาณทางไฟฟ้าสามารถแบ่งได้ 2ลักษณะ 1. สัญญาณอนาลอก(Analog Signal) เป็นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความต่อเนื่องของสัญญาณ เช่น สัญญาณเสียงในโทรศัพท์ 2. สัญญาณแบบดิจิทัล(Digitals signal) ลักษณะสัญญาณถูกแบ่งเป็นช่วงๆ อย่างไม่ต่อเนื่อง โดยแบ่งออกเป็นสองระดับ คือ - สถานะของบิต 0 - สถานะของบิต 1
ทิศทางในการสื่อสารข้อมูล1.แบบทิศทางเดียว 2.แบบกึ่งสองทิศทาง 3.แบบสองทิศทาง 1.สื่อกลางในการสื่อสาร สื่อกลาง (Media) ทำหน้าที่ส่งผ่านข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับ สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล
1.1 สื่อกลางที่กำหนดเส้นทางได้ (Guided Media)หรือ ระบบใช้สาย (Wired System) สายเกลียวคู่ (Twisted Pair) ข้อดีของสายเกลียวคู่ - ราคาถูก -มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน -ข้อเสียของสายเกลียวคู่ -ระยะทางจำกัด -ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
1.2 สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) ข้อดีของสายโคแอกเซียล - ส่งข้อมูลได้ทั้งสัญญาณอนาล็อกและดิจิทัล - ส่งข้อมูลได้ทั้งภาพและเสียง - ข้อเสียของสายโคแอกเซียล - ราคาสูงกว่าสายเกลียวคู่ - มีสัญญาณรบกวนสูง
1.3 เส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ข้อดีของใยแก้วนำแสง - ป้องกันการรบกวนจากสัญญาณไฟฟ้าได้มาก - ส่งข้อมูลได้ระยะไกล - ข้อมูลมีความปลอดภัยสูง - ข้อเสียของใยแก้วนำแสง - ราคาสูง ติดตั้งยาก - เส้นใยแก้วมีความเปราะบาง 2. สื่อกลางที่กำหนดเส้นทางไม่ได้ (Unguided Media)หรือระบบไร้สาย (Wireless System) 1. ระบบคลื่นไมโครเวฟ ข้อดีของระบบไมโครเวฟ เป็นสื่อจัดเก็บข้อมูลหลัก ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี สื่อชนิดนี้ประกอบด้วย หน่วยความจำ RAM และ ROM - RAM : Random Access Memory จะวางอยู่นอก CPU เก็บข้อมูลและคำสั่งในการประมวลผล เก็บข้อมูลในขณะที่โปรแกรมกำลังทำงานอยู่
2. ดาวเทียม ข้อดีของระบบดาวเทียม - สัญญาณครอบคลุมได้ทั่วโลก - ค่าใช้จ่ายไม่ขึ้นอยู่กับระยะทาง
ข้อเสียของระบบดาวเทียม - มีเวลาหน่วงในการส่งสัญญาณ - ลงทุนสูง
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประโยชน์ของระบบเครือข่าย 1.ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน 2. ใช้ซอฟต์แวร์ร่วมกัน 3. ใช้ข้อมูลร่วมกัน 4. การสื่อสารระหว่างบุคคล 5. ค่าใช้จ่าย 6. การบริหารเครือข่าย 7. ระบบรักษาความปลอดภัย 8. เสถียรภาพของระบบ 9. การสำรองข้อมูลการประมวลผลข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การประมวลผลข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท 1. การประมวลผลข้อมูลที่ศูนย์กลาง (centralized processing) 2. การประมวลผลข้อมูลแบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ (client/server processing)
ประเภทของเครือข่าย1. ระบบเครือข่ายระยะใกล้(LAN – Local Area Network) 2. ระบบเครือข่ายระดับเมือง (MAN – Metropolitan Area Network) 3. ระบบเครือข่ายระยะไกล (WAN – Wide Area Network)องค์ประกอบของระบบเครือข่ายอุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อระหว่างเครือข่าย 1.1 เครื่องเทอร์มินอล (Terminal) 1.2 โมเด็ม (Modem) 1.3 เครื่องทวนสัญญาณ (Repeater) 1.4 บริดจ์ ( Bridge ) 1.5 อุปกรณ์จัดเส้นทาง ( router ) 1.6 เกตเวย์ (Gateway ) 1.7 ฮับ ( HUB )
ประเภทเครือข่ายในองค์กร- ระบบอินเทอร์เน็ต (Internet) - ระบบอินทราเน็ต (Intranet) - ระบบเอ็กซ์ทราเน็ต (Extran)
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น